วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552

นวัตกรรมการศึกษา

ชื่อเรื่อง : (ภาษาไทย) ผลของการใช้บทเรียนบนเครือข่ายที่พัฒนาตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสซึม เรื่องนวัตกรรมการศึกษาสำหรับนักศึกษา ระดับปริญญตรี
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
(ภาษาอังกฤษ) The effect of web-base learning devlope based on constructivism in educational innovation for bachelor’s degree student faculty of education Khon Kaen university
ปีที่ทำการวิจัยสำเร็จ : 2547
ชื่อผู้วิจัย : (ภาษาไทย) นางสาวสุกาลดา วงศ์ภักดี
(ภาษาอังกฤษ) Miss.Sukanda Wongphakdee
อาจารย์ที่ปรึกษา : (ภาษาไทย) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.สุมาลี ชัยเจริญ
(ภาษาอังกฤษ) Assistant ProfessorDr.Sumalee Chaicharern
ประเภทของการวิจัย : การศึกษาค้นคว้าอิสระ
ที่เก็บผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ : ห้องสมุดคณะศึกษาศาสตร์
และสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาการใช้บทเรียนบนเครือข่ายที่พัฒนาตามแนว คอนสตรัคติวิสซึม โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดเห็นของผู้เรียนที่เรียนจากการใช้ บทเรียนบนเครือข่ายที่พัฒนาตามแนวคอนสตรัคติวิสซึม เรื่องนวัตกรรมการศึกษา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ลงเรียนในวิชา 212 300 สื่อการสอน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2546 กลุ่ม 2 จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย
1) บทเรียนบนเครือข่ายที่พัฒนาตามแนวทฤษฎี คอนสตรัคติวิสซึม
2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่องนวัตกรรมการศึกษา แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และอัตนัย จำนวน 2 ข้อ
3) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียน
การศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยที่มีการทดลองเพียงกลุ่มเดียว มีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง การวิเคราะห์ข้อมูลจะมีวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ค่าสถิติพื้นฐานสำหรับ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ()Χ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D.)
ผลการวิจัยในครั้งนี้พบว่า ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นมีค่าเฉลี่ย (Χ) ของคะแนนสอบหลังเรียน 31.05 และมีค่าเฉลี่ย (Χ) ของคะแนนสอบก่อนเรียน 11.94 โดยมีค่าเฉลี่ย (Χ) ของคะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 19.11 และผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการใช้สื่อบนเครือข่ายส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก เนื่องจากบทเรียนบนเครือข่ายที่พัฒนาตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสซึมในเรื่องนวัตกรมการศึกษานี้ จะช่วยส่งเสริมการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองให้แก่ผู้เรียน ตลอดจนการเสริมสร้างทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองให้กับผู้เรียนต่อไป เนื่องจากคุณลักษณะของบทเรียนบนเครือข่ายที่ช่วยตอบสนองด้านความแตกต่างระหว่างบุคคลและความสนใจที่จะศึกษาได้ตามที่ตนเองต้องการ นอกจากนี้บทเรียนบนเครือข่ายยังช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการเรียนรู้ เพราะได้เรียนรู้จากสถานการณ์ที่เป็นปัญหาซึ่งใกล้เคียงกับบริบทในชีวิตจริง และได้เรียนตามความต้องการหรือความสนใจของตนเอง ส่งเสริมการเรียนรู้โดยวิธีการร่วมมือกันแก้ปัญหา ซึ่งนำไปสู่การขยายโครงสร้างทางปัญญาให้กับผู้เรียน เนื่องจากในการเรียนด้วยวิธีนี้จะทำให้ผู้เรียนได้มีการอภิปรายให้เหตุผล มีการ แลกเปลี่ยนความรู้ แนวความคิดต่าง ๆ ของตนเองกับบุคคลอื่น ๆ ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ใน มุมมองที่กว้างขึ้น นอกจากนี้การยอมรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกันของผู้เรียน จะทำให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียน และเป็นพื้นฐานในการอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นสุขต่อไปอีกด้วย
เอกสารอ้างอิง
สุกาลดา วงศ์ภักดี .(2547). ผลของการใช้บทเรียนบนเครือข่ายที่พัฒนาตามแนวฤษฏีคอนสตรัคติวืสซึ่ม เรื่องนวัตกรรมการศึกษาสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์:ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.สุมาลี ชัยเจริญ
สิ่งที่ได้รับ
-ได้ทราบแหล่งค้นคว้าข้อมูลจากหลายๆเว็ปไซต์
-ได้รูปแบบการเขียนวิทยานิพนธ์
-ได้ทราบหัวข้อเรื่องงานวิจัย
-ได้รู้ถึงขั้นตอนการเขียนงานวิจัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น